กิจกรรมที่ 1 TCAS


สรุปแบบง่ายๆ TCAS ระบบสอบแบบใหม่ที่เริ่มใช้ปี 2561


       

ชื่อระบบใหม่ที่แท้จริง

สำหรับชื่อระบบใหม่ที่แท้จริง คือ TCAS โดยย่อมาจาก Thai University Central Admission System ไม่ใช่เอ็นทรานซ์ 4.0 เหมือนที่มีคนเคยเรียกกันนะ โดยจะเริ่มใช้ระบบใหม่นี้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป
โดย สามารถติดตามและตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ได้ผ่านทางเว็บไซต์ทางการ http://TCAS61.cupt.net ตั้งแต่ 2 มิถุนายนเป็นต้นไป

ทำไมต้องปรับ?

เนื่องจากในหลายปีที่ผ่านมา กว่าจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นต้องผ่านการสอบหลายครั้ง ทั้งการสอบข้อสอบกลางอย่าง GAT-PAT, 9 วิชาสามัญ และ O-Net ที่จัดตลอดทั้งปี อีกทั้งบางมหาวิทยาลัยก็มีการจัดสอบตรงของตนเอง และมีการรับที่หลายรอบเกินไป เกิดการวิ่งสอบและกันที่เกิดขึ้น รวมทั้งเงินค่าสมัครและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เสียซ้ำซ้อนและมากเกินไปนั่นเอง..
อีกทั้งการสอบและการรับนิสิตนักศึกษาใหม่ที่มีตลอดปี ทำให้การเรียน ม.6 ของแต่ละคนเรียนได้อย่างไม่เต็มที่ คุณครูก็ต้องเร่งสอนเพื่อให้ทันการสอบ
ด้วยความวุ่นวายเหล่านี้ เลยมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และครั้งใหม่กับ ปี 2561 นั่นเอง..
โดยยึดหลักการให้เด็กอยู่ในห้องเรียนจนจบการศึกษา ไม่เกิดปัญหาการวิ่งรอกสอบ ไม่เป็นภาระค่าใช้จ่ายกับผู้ปกครอง เด็กมีสิทธิ์ที่เลือกเรียนตามที่ต้องการ ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยก็มีสิทธิ์ที่จะเลือกเด็กได้เช่นกัน


ปรับอะไรบ้าง?

 การสอบทั่วไป

สำหรับบรรดาการสอบของข้อสอบกลางทั้งหมดจะเลื่อนไปสอบหลังจากจบชั้น ม.6 ทั้งหมด  โดยจัดสอบในเดือนมีนาคม – เมษายน 2561 ทั้งหมด 6 สัปดาห์ โดยมีกำหนดการดังนี้ :
สัปดาห์ที่วันสอบรายการสอบจัดสอบโดย
124 – 27 กุมภาพันธ์ 2561GAT / PAT ปีการศึกษา 2561สทศ
23 – 4 มีนาคม 2561O-NET ม.6 ปีการศึกษา 2560สทศ
417 – 18 มีนาคม 25619 วิชาสามัญ ปีการศึกษา 2561สทศ
3, 5, 6, 724 กุมภาพันธ์ – 12 เมษายน 2561กสพท. และ วิชาเฉพาะของแต่ละมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยต่างๆ หรือองค์กรที่จัดสอบ

และพิเศษ! ทาง ทปอ. (ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย) ได้มีการเพิ่ม ภาษาเกาหลี เป็นภาษาเพิ่มเติมในการสอ PAT7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศอีกด้วย โดยจะจัดสอบครั้งแรกในการสอบ GAT-PAT ปีการศึกษา 2561.. อันยองฮาเซโย 😉



 รายละเอียดการคัดเลือกทั้ง 5 รอบของ TCAS!

แบ่งเป็น 5 รอบด้วยกัน คือ
  • รอบที่ 1 : การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) โดยไม่มีการสอบข้อเขียน
    • ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : 
      • ครั้งที่ 1 : 1 ตุลาคม 2560 – 30 พฤศจิกายน 2560
        • ประกาศผล : 22 ธันวาคม 2560
      • ครั้งที่ 2 : 22 ธันวาคม 2560 – 28 กุมภาพันธ์ 2561
        • ประกาศผล : 26 มีนาคม 2561
    • สำหรับ : นักเรียนทั่วไป, นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ, นักเรียนโควตา, นักเรียนเครือข่าย
    • ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง

  • รอบที่ 2 : การรับแบบโควตาที่มีการสอบปฏิบัติและข้อเขียน
    • ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : ธันวาคม 2560 – มีนาคม 2561
      • ประกาศผล : 8 พฤษภาคม 2561
    • สำหรับ : นักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือภาค, นักเรียนในโรงเรียนเครือข่าย, นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
    • ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง

  • รอบที่ 3 : การรับตรงร่วมกัน
    • ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : 9 – 13 พฤษภาคม 2561
      • ประกาศผล : 8 มิถุนายน 2561
    • สำหรับ : นักเรียนที่อยู่ในโครงการ กสพท. (กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย), โครงการอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
    • การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยไม่มีลำดับ หมายความว่า 4 สาขาวิชา หรือ 4 มหาวิทยาลัยที่สมัครไปนั้น มีโอกาสผ่านการคัดเลือกทั้งหมด.. (แล้วค่อยเลือกมหาวิทยาลัยที่ต้องการศึกษาต่อในเคลียริ่งเฮาส์ของรอบที่ 3 อีกครั้ง) โดยที่จะมีการจัดสอบร่วมกันในเวลาเดียวกัน ส่วนเกณฑ์การคัดเลือกแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนด
    • ยื่นสมัครผ่าน : ทปอ. (ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย) หลังจากนั้นจะส่งข้อมูลผู้สมัครไปให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้ประมวลคัดเลือก

  • รอบที่ 4 : การรับแบบ Admission
    • ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : 6 – 10 มิถุนายน 2561
      • ประกาศผล : 13 กรฎาคม 2561
    • สำหรับ : นักเรียนทั่วไป
    • การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยมีลำดับ (เหมือนแอดมิชชั่นในปีที่ผ่านมา) แต่ใช้เกณฑ์ค่าน้ำหนักที่ประกาศล่วงหน้า 3 ปี
    • ยื่นสมัครผ่าน : ทปอ. (ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย)

  • รอบที่ 5 : การรับตรงแบบอิสระ (รอบเก็บตก)
    • ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : ภายในเดือนกรกฎาคม 2561
    • สำหรับ : นักเรียนทั่วไป
    • การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบได้ตามความต้องการ โดยที่แต่ละมหาวิทยาลัยจะรับตรงด้วยวิธีการของมหาวิทยาลัยเอง
    • ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง


จำนวนการรับในแต่ละรอบ ปีการศึกษา 2561 (โดยประมาณ)

เป็นข้อมูลจำนวนประมาณการจากสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 40 แห่ง โดยรับทั้งหมด 278,644 คน แบ่งออกทั้งหมด 5 รอบ ดังรายละเอียดนี้
รอบที่ประเภทการรับจำนวน
รอบที่ 1ยื่นด้วยแฟ้มสะสมผลงาน72,613 คน
รอบที่ 2รับแบบโควต้า85,436 คน
รอบที่ 3การรับตรงร่วมกัน59,167 คน
รอบที่ 4รับแบบแอดมิชชั่น35,836 คน
รอบที่ 5การรับตรงอิสระ26,042 คน

แล้วเด็กซิ่วล่ะ ?

* เด็กซิ่ว หมายถึง นิสิตนักศึกษา ที่ลาออกจากการเป็นนิสิตนักศึกษาแล้วกลับมาเข้าระบบเพื่อแอดมิชชั่นใหม่ 
ถือเป็นคำถามของเด็กซิ่วหลายคนว่า.. “แล้วเราล่ะ จะสมัครรอบไหนได้บ้าง”
เด็กซิ่วสามารถสมัครได้ทุกรอบที่มีการเปิดรับสมัคร โดยจะต้องเป็นไปตามคุณสมบัติและระเบียบการที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งระบุไว้ (หรือแบบเข้าใจง่ายๆ คือ อาจมีบางสาขาที่ไม่เปิดรับนั่นเอง)

ทุกรอบมี “เคลียริงเฮาส์” (Clearing House)

เนื่องจากปัญหาในหลายๆ ปีที่ผ่านมาที่มีปัญหาวิ่งสอบ แล้วกั๊กที่นั่งเรียนทำให้คนอื่นเสียสิทธิ์ไป ในระบบการคัดเลือกใหม่
ดังนั้นในระบบการคัดเลือกใหม่ ทาง ทปอ. จึงขอความร่วมมือให้ทุกมหาวิทยาลัยต้องเข้าร่วมเคลียริ่งเฮาส์ในทุกรอบ เพื่อให้นิสิตนักศึกษา กดยืนยันสิทธิ์การศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้นๆ หลังสอบรอบนั้นๆ เสร็จ และเมื่อกดยืนยันในรอบนั้นๆ แล้วจะไม่สามารถสมัครสอบใหม่ในรอบอื่นๆ ได้อีกนั่นเอง
รอบที่ประเภทการรับวันที่ต้องยืนยันสิทธิ์เคลียริ่งเฮาส์
รอบที่ 1ยื่นด้วยแฟ้มสะสมผลงานครั้งที่ 1 : 15-19 ธันวาคม 2560
ครั้งที่ 2 : 19-22 มีนาคม 2561
รอบที่ 2รับแบบโควต้า3-6 พฤษภาคม 2561
รอบที่ 3การรับตรงร่วมกัน26-28 พฤษภาคม 2561
รอบที่ 4รับแบบแอดมิชชั่นไม่มีเคลียริ่งเฮาส์
รอบที่ 5การรับตรงอิสระไม่มีเคลียริ่งเฮาส์

แล้วถ้าจะเข้ามหาวิทยาลัยราชภัฎ หรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล่ะ ?

สำหรับคนที่ต้องการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฎ หรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จะเข้าร่วมการคัดเลือกในการสมัครรอบที่ 1-3 และรอบที่ 5 แต่จะไม่มีกาสอบรอบแอดมิชชั่น เพราะมหาวิทยาลัยทั้ง 2 กลุ่มนั้นเปิดภาคเรียนแล้วนั่นเอง!

ถ้าจบจากต่างประเทศ ?

สำหรับคนที่จบหลักสูตรจากโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย หรือ จบการศึกษาจากต่างประเทศ ทางกระทรวงศึกษาธิการประกาศแล้วว่าไม่ต้องเทียบวุฒิการศึกษา สามารถสมัครเรียนต่อตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดได้
สำหรับคนหลักสูตรนานาชาติหรือจบจากต่างประเทศ สามารถสมัครสอบเข้าได้ 3 รูปแบบ คือ
  • ในรอบที่ 1  แบบที่ไม่มีการสอบเพิ่มเติม : อาจเป็นการยื่นคะแนนทางวิชาการ IELTS, TOEFL, SAT เป็นต้น และมีมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  • หรือ สามารถสมัครในรอบที่ 3 หรือรอบที่ 5 ได้ โดยต้องมีการสอบเพิ่มเติม หรือมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  • หรือ สามารถสมัครในรอบที่ 4 ได้ แต่ต้องมีคะแนนและใช้องค์ประกอบคะแนนตามที่กำหนด





คลังความรู้


เคล็ดลับ 13 ประการ เพื่อ การเรียน อย่างมีประสิทธิภาพ

1. รับผิดชอบ
  - รับผิดชอบตนเอง ไม่ยืมจมูกคนอื่นหายใจ เป็นผู้ชนะจากความสามารถของตน

2. เริ่มต้นดี
  - ช่วงเดือนแรกในรั้วมหาวิทยาลัย ถือเป็นช่วงวิกฤตของน้องใหม่ หากเริ่มต้นดี ความสำเร็วจะไม่อยู่ไกลเกินเอื้อม

3. กำหนดเป้าหมายในการเรียนอย่างแน่วแน่
  - กำหนดเป้าหมายในการเรียนให้ชัดเจน ทั้งระยะสั้นและระยะยาว และทุ่มเทความพยายามให้บรรลุเป้าหมายนั้น

4. วางแผน และจัดการ
  - มีการวางแผน จัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมที่ต้องทำ หากทำตารางเวลาเป็นรายสัปดาห์ได้ยิ่งดี 
5. มีวินัยต่อตนเอง
  - เมื่อกำหนดเป้าหมาย วางแผน และจัดการ ตามข้อ 4 และ 5 แล้วต้องสัญญากับตนเองอย่างแน่วแน่ที่จะมีวินัย และปฏิบัติตาม 

6. อย่าล้าสมัย
  - วิทยาการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การค้นคว้าหาความรู้ ต้องอิงกับข้อมูลที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์

7. ฝึกฝนตนเองให้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
  - ศึกษาข้อเสนอแนะในคู่มือเล่มนี้ และฝึกทักษะการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ติดตัวตลอดไป

8. เตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่ชั้นเรียน
  - เตรียมตัวเป็นผู้ใฝ่หาความรู้อย่างแข็งขัน หากเป็นไปได้เตรียมอ่านเอกสารที่จะเรียนมาก่อนเข้าห้องเรียน

9. มุ่งมั้น จดจ่อต่อบทเรียน
  - มีสมาธิ สนใจ ตั้งใจ เวลาอาจารย์สอน ไม่เข้าเรียนเพื่อพูดคุยกัน ซังกะตาม รอเวลาเลิกชั้น 

10. เป็นตัวของตัวเอง
  - รู้จักคิดและทำ ด้วยความสามารถของตนเองคิดเสมอว่าเราเป็นผู้หนึ่งที่มีศักยภาพสูง

 11. มีความกระตือรือล้น
  - ความสำเร็จเป็นของผู้ที่มีความริเริ่ม เป็นฝ่ายรุกที่จะมุ่งหน้า และคว้าความสำเร็จเป็นของตน

12. มีสุขภาพดี
  - อย่าลืมใส่ใจต่อสุขภาพร่างกาย กิจกรรมนันทนาการ และกิจกรรมสังคม วางแผนจัดเวลาต่อสิ่งเหล่านี้ให้พอเหมาะ

13. เรียนอย่างมีความสุข
  - พยายามเก็บเกี่ยวความน่าสนใจในบทเรียน คิดเสมอว่าทุกวิชาน่าเรียนรู้ น่าสนุกทั้งนั้น แล้วท่านจะพบว่า เราก็เรียนอย่างมีความสุขได้


4 ขั้นตอน การจัดตารางการอ่านหนังสือ

     จริงๆ แล้วการอ่านหนังสือตอนที่พี่อ่านเตรียมสอบ ไม่ได้จัดตารางเลยครับ เพราะเคยทำแล้ว ทำไม่ได้ แล้วจะอ่านให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร ตอบได้คำเดียวครับ "อ่านเมื่ออยากอ่าน" แต่ต้องไม่ใช่ว่ามีแต่ไม่อยากอ่านนะ ต้องทำให้อยากอ่านบ่อยๆ อยากอ่านมากๆ อยากรู้มากๆ เพื่อให้การอ่านมีประสิทธิภาพครับ อ่านทุกเวลาที่สามารถทำได้นั่นแหละดีที่สุด

     เพื่อนพี่เคยติดสูตรไว้ในห้องน้ำ พกสูตรติดตัว พกโน้ตย่อไว้ที่กระเป๋าเสื้อตลอดเวลา บางคนมีหนังสือติดตัวทุกที่ เพื่อให้ อยากอ่านเมื่อไร ก็หยิบขึ้นมาอ่านได้ทันที ไม่ต้องรอเวลา ไม่ต้องจัดตารางเอาละ แล้วถ้าจะจัดตารางเวลาอ่านหนังสือ จะทำยังไงดี พี่ขอว่าเป็นข้อๆ เลยดีกว่าครับ

1. เลือกเวลาที่เหมาะสม
     เวลาที่เหมาะสมหมายความว่า เวลาที่น้องต้องการจะอ่าน เวลาที่ว่างจากงานอื่น เวลาที่อยากจะอ่านหนังสือ หรือเป็นเวลาที่อ่านแล้วได้เนื้อหามากที่สุด เข้าใจมากที่สุด เวลาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่านตอนเช้าตรู่ บางคนชอบอ่านตอนกลางคืนก่อนนอน บางคนชอบอ่านเวลากลางวัน แล้วแต่การจัดสรรเวลาของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน น้องต้องเลือกดูเวลาที่เหมาะสมของตัวเองนะครับ การจัดเวลาต้องให้ได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมงครับ วันนึงถ้าอ่านหนังสือแค่วันละ 2 ชั่วโมงน้อยมาก

2. วางลำดับวิชาและเนื้อหา
     ขั้นตอนต่อมา คือ เลือกวิชาที่จะอ่าน มีหลักง่ายๆ คือ เอาวิชาที่ชอบก่อน เพื่อให้เราอ่านได้เยอะๆ และอ่านได้เร็ว ควรเลือกเรื่องที่ชอบอ่านก่อนเป็นอันดับแรก จะได้มีกำลังใจอ่านเนื้อหาอื่นต่อไป ไม่แนะนำวิชาที่ยาก และเนื้อหาที่ไม่ชอบนะครับ เพราะจะทำให้เสียเวลาเปล่า การอ่านหนังสือควรอ่านให้ได้ตามที่เราวางแผนเอาไว้ วิธีการก็คือ List รายการหรือเนื้อหา บทที่จะอ่านให้หมด จากนั้นค่อยเลือกลำดับเนื้อหาว่าจะอ่านเรื่องใดก่อนหลัง แล้วค่อยลงมืออ่าน

3. ลงมือทำ
     ยังไง ถ้าไม่มีข้อนี้ก็ไม่มีทางสำเร็จ การลงมือทำคือการลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่าผัดวันประกันพรุ่ง เหมือนกับที่พี่เคยเขียนไว้ว่า อย่าฝากอนาคตของตัวเองไว้กับความขี้เกียจของวันนี้ บางคนลงมือทำ แต่ไม่จริงจัง ก็ไม่ได้นะครับ ขอให้นึกถึงชาวนาแล้วกัน ถ้าลงมือทำนาเริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ แล้วทิ้งค้างไว้แต่ไม่ทำให้สำเร็จ ไม่ดูแลจนกระทั่งเก็บเกี่ยว หรือทิ้งไว้ไม่เก็บเกี่ยว การทำนาก็จะไม่สำเร็จ เราก็จะไม่มีข้าวกิน ดังนั้น ขอให้น้องๆ "ทำอะไร ทำจริง" แล้วกันนะครับ ทำให้ได้จริงๆ

4. ตรวจสอบผลงาน
     ผลของการอ่าน ดูได้จากว่า ทำข้อสอบได้หรือไม่ ถ้าอ่านแล้วทำข้อสอบได้ ก็แสดงว่าอ่านรู้เรื่อง อ่านเข้าใจ ได้เนื้อหาจริงๆ แต่ถ้าอ่านแล้วทำข้อสอบไม่ได้ ก็ต้องกลับไปทบทวนใหม่ พี่ขอแนะนำว่า อ่านแล้วต้องจดบันทึกไว้ด้วยนะครับ จะได้รู้ว่า เราอ่านไปถึงไหนแล้ว และอ่านไปได้เนื้อหาอะไรบ้าง การจดบันทึก ก็คือการทำโน้ตย่อนั่นแหละ ทำสรุปไว้เลยว่าอ่านอะไรไปแล้วบ้าง เก็บไว้ให้มากที่สุด จะได้เป็นผลงานของตัวเอง เก็บไว้อ่านเมื่อต้องการ เก็บไว้อ่านตอนใกล้สอบ

     อยากจะบอกว่าช่วงนี้ยังมีเวลาเพียงพอสำหรับการเริ่มต้นที่ดี ยังไม่สายเกินไปหากคิดจะเริ่มอย่างจริงจัง อย่าอ่านเพียงแค่ได้เปิดหนังสือ อย่าโกหกตัวเองว่าได้อ่านแล้ว อย่าหลอกตัวเอง อย่าหลอกคนอื่น ความรู้ไม่สามารถลอกเลียนแบบกันได้ หลอกคนอื่นอาจหลอกได้ หลอกตัวเองไม่ได้แน่นอน คนที่รู้จักเรามากที่สุดก็คือ ตัวเราเองนี่แหละ ตั้งใจทำ ทำเพื่ออนาคตของตัวเองนะครับ

5 เคล็ดลับการอ่านหนังสือสอบวิธีอ่านหนังสือ  แบบว่าอยากสอบผ่าน....


1. คนที่อ่านหนังสือคนเดียวมักจะเสียเปรียบ คนที่อ่านเป็นกลุ่มมักจะได้เปรียบ เนื่องจากอ่านคนเดียวอาจเข้าใจคลาดเคลื่อน หรืออ่านไม่ตรงจุด หรือ(บางคน)อาจอ่านไม่รู้เรื่อง ถ้าอ่านเป็นกลุ่มโอกาสอ่านผิดจุดจะยากขึ้น และยังพอช่วยกันฉุดได้

** แต่วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับคนชอบแชตนะค่ะ อิอิ

2. ควรอ่านเองที่บ้านก่อน 1 รอบ และจับกลุ่มติว เสร็จแล้วกลับไปอ่านทบทวนเองที่บ้านอีก 1 รอบ (ต้องรับผิดชอบตัวเอง)

3. ผลัดกันติว ใครเข้าใจเรื่องใดมากที่สุดก็ให้เป็นผู้ติว ข้อสำคัญ อย่าคิดแต่จะเป็นผู้รับอย่างเดียว จงคิดว่าเป็นผู้ให้ก่อน แล้วคนอื่น (ถ้าไม่แล้งน้ำใจเกินไป) ก็จะให้ตอบเอง

4. ผู้ติวจะได้ทบทวนเนื้อหา และจะรู้ว่าตัวเองขาดอะไร บกพร่องอะไร จากคำถามของเพื่อนที่สงสัย บางครั้งเพื่อนก็สามารถเสริมเติมเต็มในบางจุดที่ผู้ติวขาดหายได้


5. การติวจะทำให้เกิดการ Share ความคิด และฝึกวิธีทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยพัฒนาทั้งด้าน IQ และ EQ (อ่านเองจะพัฒนาแต่ IQ)


เทคนิค 6 ข้อ ที่ควรทำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบให้ได้ผล ใน 1 เดือน

1.ต้องเลิกเที่ยว เลิกดื่ม เลิกสร้างบรรยากาศที่ไม่ใช่การเตรียมสอบ เลิก chat ตอนดึกๆ เลิกเม้าท์โทรศัพท์นานๆ ตัดทุกอย่างออกไป ปลีกวิเวกได้เลย ต้องทำให้ได้ ถ้าไม่ได้อย่าคิดเลยว่าจะสอบติด ฝันไปเถอะ

2.ตัดสินใจให้เด็ดขาด ว่าต่อไปนี้จะทำเพื่ออนาคตตัวเอง บอกเพื่อน บอกพ่อแม่ บอกทุกคนว่า อย่ารบกวน ขอเวลาส่วนตัว จะเปลี่ยนชีวิต จะกำหนดชีวิตตัวเอง จะกำหนดอนาคตตัวเอง เพราะเราต้องการมีอนาคตที่กำหนดได้ด้วยตัวเอง ใช่หรือไม่

3.ถ้าทำ 2 ข้อไม่ได้ อย่าทำข้อนี้ เพราะข้อนี้คือ ให้เขียนอนาคตตัวเองไว้เลยว่า จะเรียนต่อคณะอะไร จบแล้วจะเป็นอะไร เช่น จะเรียนพยาบาล ก็เขียนป้ายตัวใหญ่ๆ ติดไว้ข้างห้อง มองเห็นตลอดเลยว่า "เราจะเป็นพยาบาล" จะเรียนแพทย์ก็ต้องเขียนไว้เลยว่า "ปีหน้าจะไปเหยียบแผ่นดินแพทย์ศิริราช-จุฬา" อะไรทำนองนี้ เพื่อสร้างเป้าหมายให้ชัดเจน

4.เตรียมตัว สรรหาหนังสือ หาอาจารย์ติว หาเพื่อนคนเก่งๆ บอกกับเค้าว่าช่วยเป็นกำลังใจให้เราหน่อย ช่วยเหลือเราหน่อย หาหนังสือมาให้ครบทุกเนื้อหาที่จะต้องสอบ เตรียมห้องอ่านหนังสือ โต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ ให้พร้อม

5.เริ่มลงมืออ่านหนังสือ เริ่มจากวิชาที่ชอบ เรื่องที่ถนัดก่อน ทำข้อสอบไปด้วย ทำแบบฝึกหัดจากง่ายไปยาก ค่อยๆ ทำ ถ้าท้อก็ให้ลืมตาดูป้าย ดูรูปอนาคตของตัวเอง ต้องลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่างน้อยวันละ 10 ชั่วโมง แล้วจะทำได้ไง วิธีการคือ อ่านทุกเมื่อที่มีโอกาส อ่านทุกครั้งที่มีโอกาส หนังสือต้องติดตัวตลอดเวลา ว่างเมื่อไรหยิบมาอ่านได้ทันที อย่าปล่อยให้ว่างจนไม่รู้จะทำอะไร ที่สำคัญอ่านแล้วต้องมีโน้ตเสมอ ห้ามนอนอ่าน ห้ามกินขนม ห้ามฟังเพลง ห้ามดูทีวี ห้ามดูละคร ดูหนัง อ่านอย่างเดียว ทำอย่างจริงจัง


6.ข้อนี้สำคัญมาก หากท้อให้มองภาพอนาคตของตัวเองไว้เสมอ ย้ำกับตัวเองว่า "เราต้องกำหนดอนาคตของตัวเอง ไม่มีใคร กำหนดให้เรา เราต้องทำได้ เพราะไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้" ให้กำลังใจกับตัวเองอยู่เสมอ บอกกับตัวเองอย่างนี้ทุกวัน หากท้อ ขอให้นึกว่า อย่างน้อยก็มีผู้เขียนบทความนี้เป็นกำลังใจให้น้องๆ เสมอ นึกถึงภาพวันที่เรารับปริญญา วันที่เราและครอบครัวจะมีความสุข วันที่คุณพ่อคุณแม่จะดีใจที่สุดในชีวิต ต่อไปนี้ต้องทำเพื่อท่านบ้าง อย่าเห็นแก่ตัว อย่าขี้เกียจ อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง เลิกนิสัยเดิมๆ เสียที

ที่มา: https://www.dek-d.com/board/view/1610287/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใบงานที่ 3 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2560

ใบงานที่ 3 ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์